การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020
นำเสนอสถานการณ์ที่ผ่านมาและการปรับตัวในอนาคตในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย พร้อมทั้งเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020 โดยสะท้อนมุมมองจากภาคส่วนต่างๆ
1. สถานการณ์ที่ผ่านมาและการปรับตัวในนาคตในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย
2. เชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยหลังปี ค.ศ. 2020
1. สถานการณ์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศต่างๆ สร้างความมั่นคงในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตและมนุษย์ จากการประเมินสถานภาพบางส่วน พบว่า มีสัตว์เริ่มสูญพันธุ์ และมีแนวโน้มชนิดชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามเพิ่มมากขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ระบุให้บุคคลและชุมชนมีสิทธิในการดูแลรักษาและใช้ประโยชน์อย่างสมดุล กำหนดให้รัฐคอยควบคุมดูแลกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
ประเทศไทยได้จัดทำกรอบนโยบายและแผนด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศมาตั้งแต่ พ.ศ. 2551 สำหรับแผนแม่บทบูรณาการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. 2558-2564 ถือเป็นแผนหลักด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ซึ่งในการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ขึ้น 2 ระยะ สำหรับแผนปฏิบัติการฯ พ.ศ. 2560-2564 ได้กำหนดเป้าหมายระดับชาติไว้จำนวน 25 เป้าหมาย
ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนเป้าหมายระดับชาติ 4 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1. บูรณาการคุรค่าและการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 2. อนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3. ปกป้องคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประเทศและบริหารจัดการ เพื่อเพิ่มพูนและแบ่งปันประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพโดยสอดคล้องกับแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว
ยุทธศาสตร์ที่ 4. พัฒนาองค์ความรู้และระบบฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพให้เป็นมาตรสากล
ได้ทราบถึงกรอบการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020 และนโยบายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และการดำเนินที่ผ่านมา
โดย : ผศ.ดร.เมธานี หอมทอง
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020
www.npru.ac.th
http://sc.npru.ac.th
#คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
#มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม